เมนู

ว่าด้วยกุศลกรรม 5 ประเภท



บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยกุศลกรรมบถเหล่านี้ โดยอาการ 5 อย่าง
เหมือนอกุศลกรรมบถ คือ โดยธรรม โดยโกฏฐาส โดยอารมณ์ โดย
เวทนา โดยมูล.
บรรดากุศลกรรม 5 ประเภทนั้น คำว่า โดยธรรม ความว่า
จริงอยู่ บรรดากรรมบถ. เหล่านั้น กรรมบถ 7 โดยลำดับ (กายสุจริต 3
วจีสุจริต 4) ย่อมเป็นเจตนาและเป็นทั้งวิรัติ กรรมบถ 3 เบื้องปลายเป็น
ธรรมสัมปยุตด้วยเจตนาเท่านั้น.
คำว่า โดยโกฏฐาส ความว่า กรรมบถ 7 โดยลำดับเป็นกรรมบถ
อย่างเดียวไม่เป็นมูล. กรรมบถ 3 เบื้องปลายเป็นกรรมบถด้วย เป็นมูลด้วย.
จริงอยู่ อนภิชฌา คือ อโลภะเพ่งถึงมูลแล้วก็เป็นกุศลมูล อัพยาบาท คือ
อโทสะเป็นกุศลมูล สัมมาทิฏฐิ คือ อโมหะเป็นกุศลมูล.
คำว่า โดยอารมณ์ ความว่า อารมณ์ทั้งหลายของปาณาติบาตเป็นต้น
นั่นแหละก็เป็นอารมณ์ของกุศลกรรมเหล่านั้น. จริงอยู่ การงดเว้น (วิรัติ)
จากวัตถุที่พึงก้าวล่วงนั่นแหละ ชื่อว่า เวรมณี. เหมือนอย่างว่า อริยมรรคมี
นิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลาย ฉันใด ก็กรรมบถเหล่านี้มีชีวิตินทรีย์
เป็นต้นเป็นอารมณ์ พึงทราบว่า ย่อมละความเป็นผู้ทุศีลทั้งหลายมีปาณาติบาต
เป็นต้น ฉันนั้น.
คำว่า โดยเวทนา ความว่า กุศลกรรมบถทั้งหมดเป็นสุขเวทนา
หรืออุเบกขาเวทนา. จริงอยู่ เพ่งถึงกุศลแล้ว ชื่อว่า ทุกขเวทนาย่อมไม่มี.
คำว่า โดยมูล ความว่า กรรมบถ 7 โดยลำดับ ย่อมมี 3 มูล คือ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ ของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยญาณ
มี 2 มูลของบุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ. และมี 2 มูล ของ

บุคคลผู้งดเว้นด้วยจิตอันสัมปยุตด้วยอนภิชฌา และญาณ มีมูลเดียวของบุคคล
ผู้งดเว้นด้วยจิตไม่ประกอบด้วยญาณ แต่อโลภะไม่เป็นมูลของตนกับตน แม้
ในอัพยาบาทก็มีนัยนี้แหละ สัมมาทิฏฐิ มี 2 มูล ด้วยอำนาจแห่งอโลภะและ
อโทสะ ชื่อว่า กุศลกรรมบถ มี 10 เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบชื่อการเทียบเคียงกรรมบถ ในที่นี้. จริงอยู่
อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทวารแห่งผัสสะ 5 ย่อมเป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล
เท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจทวารแห่งมโนสัมผัส ย่อมเป็นกรรมแม้
ทั้ง 3 อย่าง. เพราะว่า อสังวรนั้นถึงการไหวในกายทวารแล้ว ย่อมเป็น
กายกรรมฝ่ายอกุศล ถึงความไหวในวจีทวาร ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล ไม่ถึง
การไหวในทวารทั้ง 2 นี้ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศล. อสังวรอันเกิดขึ้นด้วย
สามารถทวารแห่งอสังวร 5 เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้น
ด้วยทวารแห่งอสังวรที่กายไหว ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. อสังวร
ที่เกิดขึ้นด้วยทวารแห่งอสังวรโดยให้วาจาไหว ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศล
เท่านั้น. อสังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรโดยใจไหวไป ย่อมเป็น
มโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น กายทุจริต 3 อย่าง เป็นกายกรรมฝ่ายอกุศล
เท่านั้น. วจีทุจริต 4 อย่าง ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายอกุศลนั่นแหละ มโนทุจริต
3 อย่าง ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น.
แม้สังวรก็เกิดด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ 5 ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศล
เท่านั้น. ส่วนสังวรแม้นี้เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัส ก็เป็นกรรม
แม้ทั้ง 3 ดุจอสังวร. สังวรแม้เกิดแล้วด้วยสามารถทวารแห่งสังวร 5 ก็เป็น
มโนกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรไหวกาย
ก็เป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวรให้

ไหววาจา ก็เป็นวจีกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. สังวรที่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวาร
แห่งสังวรทางใจ ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน กายสุจริต 3 อย่าง
ย่อมเป็นกายกรรมฝ่ายกุศลเท่านั้น. วจีสุจริต 4 อย่าง ย่อมเป็นวจีกรรมฝ่าย
กุศลเท่านั้น. มโนสุจริต 3 อย่าง ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายกุศลเหมือนกัน.
กายกรรมที่เป็นอกุศลย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ 5
แต่ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งมโนสัมผัสเท่านั้น. วจีกรรมฝ่ายอกุศล
ก็เหมือนกัน แต่มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งสัมผัส 6.
มโนกรรมนั้นถึงความไหวในกายทวารและวจีทวารแล้ว ก็เป็นกายกรรมและ
วจีกรรมฝ่ายอกุศล. มโนกรรมนั้นไม่ถึงความไหวในกายทวารและวจีทวาร
ก็เป็นมโนกรรมฝ่ายอกุศลเท่านั้น. เหมือนอย่างว่า กายกรรมฝ่ายอกุศล ย่อม
ไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ 5 ฉันใด กายกรรมฝ่ายอกุศลก็ย่อม
ไม่เกิดขึ้นแม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร 5 ฉันนั้น คือย่อมเกิดด้วยสามารถ
ทวารแห่งอสังวรอันยังกายให้ไหว และด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางวาจา
ย่อมไม่เกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวรทางมโน. แม้วจีกรรมที่เป็นอกุศล
ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร 5 ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่ง
อสังวรอันยังกายและวาจาให้ไหว ย่อมไม่เกิดด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร
ทางมโน. มโนกรรมฝ่ายอกุศลย่อมเกิด แม้ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร 8
นั้นแหละ แม้ในกายกรรมที่เป็นฝ่ายกุศลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วน
ต่างกันมีดังนี้.
กายกรรมและวจีกรรมที่เป็นอกุศล ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
อสังวรทางมโน ฉันใด กายกรรมและวจีที่เป็นกุศลก็ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย
สามารถทวารแห่งสังวรทางมโนทวาร ฉันนั้น. แต่ว่า กายกรรมและวจีกรรม

ฝ่ายกุศลเหล่านั้น ย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ไม่ยังส่วนแห่งกายและวาจาให้ไหวรับ
สิกขาบททั้งหลาย แม้ในทวารแห่งมโนสังวร.
ด้วยประการดังกล่าวมาแล้ว กุศลจิตที่เป็นกามาวจร ชื่อว่าย่อมเกิด
ขึ้นในมโนทวารนั้น ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร 3 อย่าง ไม่เกิดขึ้นด้วย
สามารถทวารแห่งวิญญาณ 5. การเสวยอารมณ์เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือ
อทุกขมสุขนี้อันใด ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย. ก็โดยนัยนี้กุศล-
จิตที่เป็นกามาวจร ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ 6 ย่อมไม่เกิดขึ้น
ด้วยสามารถทวารแห่งอสังวร 8 ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งสังวร 8
ย่อมไม่เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งอกุศลกรรมบถ 10 ย่อมเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่ง
กุศลกรรมบถ 10 เพราะฉะนั้น กุศลจิตนี้จึงเกิดขึ้นด้วยสามารถทวารแห่งกรรม
3 อย่าง หรือด้วยสามารถทวารแห่งผัสสะ 6 หรือด้วยสามารถทวารแห่ง
สังวร 8 หรือว่า ด้วยสามารถแห่งกุศลกรรมบถ 10. เมื่อคำว่า กามาวจร-
กุศลจิตย่อมเกิดขึ้นปรารภรูปารมณ์ ฯ ล ฯ หรือธรรมารมณ์ ดังนี้ตรัสแล้ว
กามาวจรกุศลจิตทั้งหมดก็เป็นอันตรัสไว้แล้วแล.
จบกถาว่าด้วยทวาร

อรรถกถาจิตตุปปาทกัณฑ์



พึงทราบการประกอบเนื้อความในพระบาลีนี้ว่า ยํ ยํ วา ปนารพฺภ
ดังต่อไปนี้ บรรดารูปารมณ์เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ปรารภรูปเป็น
อารมณ์ คือกระทำรูปให้เป็นอารมณ์ หรือปรารภเสียงเป็นอารมณ์ ฯลฯ หรือ
ปรารภธรรมารมณ์เกิดขึ้น ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ ย่อมเป็นเช่นกับทรง
รับรองอารมณ์หนึ่งเท่านั้น ในบรรดาอารมณ์เหล่านี้ อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง
ของจิตนี้. ก็จิตนี้ของบุคคลคนหนึ่ง ในสมัยหนึ่ง ปรารภรูปารมณ์เกิดขึ้น
หรือปรารภอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง แม้มีเสียงเป็นต้นของบุคคลอื่นในสมัยอื่น
จึงเกิดขึ้นอีกทีเดียว. อนึ่ง เมื่อจิตนี้มีอารมณ์เกิดขึ้นอยู่อย่างนี้ ก็ไม่มีลำดับ
แม้นี้ว่า จิตดวงหนึ่งปรารภรูปารมณ์ก่อน ในภพหนึ่งเป็นไปแล้ว จึงปรารภ
สัททารมณ์ในภายหลัง ดังนี้. แม้ลำดับนี้ว่า ในบรรดาอารมณ์ที่มีรูปเป็นต้น
มีสีเขียวเป็นอารมณ์ก่อนแล้ว มีสีเหลืองเป็นอารมณ์ในภายหลัง ดังนี้ ก็ไม่
กำหนดไว้ เพื่อแสดงจิตนั้นนั่นแหละมีอารมณ์ทุกอย่างนี้ และความไม่มีลำดับ
และแม้ในความไม่มีลำดับ ก็ยังไม่มีความกำหนดอารมณ์ มีสีเขียวและสีเหลือง
เป็นต้น จึงตรัสคำว่า ยํ ยํ วา ปนารพฺภ ดังนี้ คำนี้ท่านอธิบายไว้ว่า
บรรดาอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้นเหล่านี้ มิใช่มีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
เพียงอารมณ์เดียว ที่แท้แล้วปรารภอารมณ์อะไรก็ได้เกิดขึ้น และจิตนั้นแม้
เมื่อเกิดขึ้นอย่างนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นแม้โดยลำดับอย่างนี้ว่า มีรูปเป็นอารมณ์ก่อน
ภายหลังจึงมีเสียงเป็นอารมณ์ แต่ว่า ปรารภอารมณ์ใด ๆ ก็ได้ เกิดขึ้น.
อธิบายว่า กระทำอารมณ์อย่างใดก็ตามในบรรดารูปารมณ์เป็นต้น เกิดขึ้นโดย